วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

เคมี(เคมีอนินทรีย์)

เคมีอนินทรีย์ (อังกฤษ: Inorganic chemistry) เป็นสาขาหนึ่งของวิชาเคมีว่าด้วยเรื่องคุญสมบัติและปฏิกิริยาเคมีของสารประกอบอนินทรีย์ หรืออาจจะกล่าวได้ว่าสารประกอบเคมีทุกชนิดยกเว้นสารประกอบเคมีที่มีโซ่และวงแหวนคาร์บอน แต่ก็มีสารบางกลุ่มที่เป็น ได้ทั้งอินทรีย์และอนินทรีย์เช่น ออร์แกนโนเมทัลลิกเคมี (organometallic chemistry)

ชนิดของปฏิกิริยาเคมีในสารอนินทรีย์
ปฏิกิริยาเคมีในสารอนินทรีย์มีด้วยกัน 4 ชนิดคือ:
ปฏิกิริยารวมตัว (combination reaction)
ปฏิกิริยาแตกตัว (decomposition reaction)
ปฏิกิริยาแทนที่ตำแหน่งเดียว (single displacement reaction)
ปฏิกิริยาแทนที่คู่ซึ่งกันและกัน (double displacement reaction)

สาขาของวิชาเคมีอนินทรีย์
เกลือแร่ (Minerals) เช่น เกลือ, แอสเบสโทส (asbestos), ซิลิเกต ฯลฯ
โลหะ (Metals) และโลหะผสม (alloys) เช่นเหล็ก, ทองแดง, อะลูมิเนียม, ทองเหลือง, สัมฤทธิ์ ฯลฯ
อโลหะ เช่น ซิลิกอน, ฟอสฟอรัส, คลอรีน, ออกซิเจน สารประกอบของอโลหะเช่น น้ำ
โลหะเชิงซ้อน (Metal complexes)
สารประกอบเคมีอนินทรีย์ที่มีความสำคัญทางการค้าได้แก่
สารกึ่งตัวนำ เช่นซิลิกอนชิพ (silicon chips)
ทรานซิสเตอร์ (transistors)
จอแอลซีดี (Liquid crystal display screens)
ใยแก้วนำแสง (fiber optical cables)
ตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี (catalysts)
วิชาเคมีอนินทรีย์มีความสัมพันธ์เคมีสาขาอื่นดังนี้
วิชาเคมีอนินทรีย์มีพื้นฐานจาก
เคมีฟิสิกส์ (physical chemistry)
วิชาเคมีอนินทรีย์เป็นพื้นฐานให้
แร่วิทยา (mineralogy)
วิชาเคมีอนินทรีย์เป็นพื้นฐานให้
เคมีวัสดุ (materials chemistry)
วิชาเคมีอนินทรีย์มีความคาบเกี่ยวกับ
ธรณีเคมี (geochemistry)
วิชาเคมีอนินทรีย์มีความคาบเกี่ยวกับ
เคมีวิเคราะห์ (analytical chemistry)
วิชาเคมีอนินทรีย์มีความคาบเกี่ยวกับ
เคมีสิ่งแวดล้อม (environmental chemistry)
วิชาเคมีอนินทรีย์มีความคาบเกี่ยวกับ
โลหะอินทรีย์เคมี (organometallic chemistry)

เคมี(ชีวเคมี)

ชีวเคมี (อังกฤษ: Biochemistry) เป็นวิชาที่ศึกษาสารเคมีที่มีในสิ่งมีชีวิต หรือที่เรียกว่า ชีวโมเลกุล (Biomolecules) และกระบวนการเคมีในสิ่งมีชีวิต ตลอดจนการควบคุมในระดับต่าง ๆ อย่างเช่นที่เกี่ยวกับการแปรรูปสารอาหารไปเป็นพลังงาน, การสร้างและเปลี่ยนแปลงสารชีวโมเลกุลภายในเซลล์ที่เรียกว่า กระบวนการ เมตาโบลิซึม การทำงานของเอนไซม์และโคเอนไซม์, ระบบของพลังงานในสิ่งมีชีวิต, การสลายและการสังเคราะห์สารชีวโมเลกุลต่าง ๆ
ชื่อนี้มาจาก
ภาษาเยอรมันว่า บิโอเคมี (Biochemie) ซึ่งแรกตั้งโดย ฮอปเปอ-ซีเลอร์ (Hoppe-Sieler) ในปี พ.ศ. 2420 (ค.ศ. 1877) โดยเขาให้คำจำกัดความไว้เป็นอย่างดีว่า เป็นเนื้อหาวิชาซึ่งครอบคลุมการเข้าศึกษาชีววิทยาในเชิงโมเลกุลทุก ๆ ด้าน

เคมี(เคมีวิเคราะห์)

ประเภทของการวิเคราะห์
เคมีวิเคราะห์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ด้านคือ:
วิเคราะห์คุณภาพ (qualitative analysis) แบ่งได้เป็น 2 แบบคือ
วิเคราะห์คุณภาพด้านอนินทรีย์ (qualitative inorganic analysis) คือการวิเคราะห์เพื่อทราบให้ได้ว่ามีธาตุหรือ
สารประกอบอนินทรีย์ (inorganic compound) ในตัวอย่างหรือไม่
วิเคราะห์คุณภาพด้านอินทรีย์ (qualitative organic analysis) คือการวิเคราะห์เพื่อทราบให้ได้ว่ามี
ฟังชั่นแนลกรุ๊ป(functional group)หรือสารประกอบอนินทรีย์ (organic compound) ในตัวอย่างหรือไม่
วิเคราะห์ปริมาณ (quantitative analysis) คือการวิเคราะห์เพื่อทราบให้ได้ว่ามีปริมาณธาตุหรือสารประกอบในตัวอย่างเท่าใด

[แก้] เทคนิคการวิเคราะห์
หลักการใหญ่ๆในการวิเคราะห์สารประกอบเคมีคือการแยก การตรวจสอบ และการวัดปริมาณมีเครือวมือและรายละเอียดดังนี้
การแยกสารเคมี (separation of chemicals) เพื่อชั่งน้ำหนักและวัดปริมาตรเป็นวิธีแบบเก่าดั่งเดิมแต่ปัจจุบันเราไดใช้เครื่องที่รวดเร็วและทันสมัยกว่าคือไฮเปอร์ฟอร์แมนซ์ลิควิดโครมาโตกราฟี (High performance liquid chromatography-HPLC)
การไตเตรท (titration) คือเทคนิคการหาปริมาณของสารเคมีในสารละลายหรือคุณสมบัติทางกายภาพของโมเลกุลเช่นค่าความสมดุลคงที่ (equilibrium constant)
การวิเคราะห์ทางไฟฟ้า (Electroanalytical Methods)
สเปกโตรสโคปี่ (spectroscopy) คือเครื่องมือที่ใช้วัดปริมาณและคุณสมบัตของสารเคมี โดยใช้หลักการดูดซับแสงและยอมให้แสงผ่านที่แตกต่างของเคมิกอลสปีซี่ (chemical species) เครื่องมือรุ่นใหม่ ๆ มีดังนี้
อะตอมิกแอบซอบชั่นสเปกโตรสโคปี่ (atomic absorption spectroscopy-AAS),
นิวเคลียร์แมกนีติกรีโซแนนซ์ (nuclear magnetic resonance-NMR)
นิวตรอนแอกติเวชั่นอะนาไลซิส (neutron activation analysis-NAA).
แมสสเปกโทรเมทรี่ (Mass spectrometry) คือเทคนิควิเคราะห์ทางเคมีที่ใช้หลักการการเปลี่ยนสารตัวอย่างให้เป็นไอออน (ionization)ในส่วนประกอบแรกของเครื่องมือที่เรียกว่า ส่วนผลิตไอออน (ionization source) โดยมีวิธีการเปลี่ยนสารตัวอย่างหลายวิธี เช่น ใช้ลำอิเล็กตรอนเข้าชน (electron impact)เป็นต้น เมื่อสารตัวอย่างเปลี่ยนไปเป็นไอออนแล้วจะผ่านเข้าสู่ส่วนวิเคราะห์มวล (mass analyzer) ที่มีหลายประเภทเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ควอดรูโพล (Quadrupole) ที่ใช้ค่าศักย์ไฟฟ้าและคลื่นความถี่วิทยุในการจำแนกมวล ส่วนประกอบสุดท้ายได้แก่ ส่วนตรวจวัด (detector)ทำหน้าที่เป็นฉากรับเมื่อมีไออนมาตกกระทบเพื่อส่งข้อมูลไปยังส่วนประมวลผลได้แก่ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุม เพื่อจะแสดงผลออกมาในกราฟที่มีชื่อเรียกเฉพาะว่า แมสสเปกตรัม (Mass Spectrum) ที่มีแกนตั้งเป็นค่า relative intensity และแกนนอนเป็นค่ามวลต่อประจุ (m/z)เทคนิคนี้ใช้ในการหามวลโมเลกุล(molecular mass) องค์ประกอบของธาตุ โครงสร้าง และเคมิกอลสปีซี่ (chemical species)
ในตัวอย่าง *
วิธีการแบบผสมผสาน (hphenated methods) ตัวอย่างของวิธีการนี้คืออินดักตีปลี่คูเปลดพลาสม่า-แมสส์สเปกโตรเมตทรี่ (Inductively-Coupled Plasma - Mass Spectrometry (ICP-MS)) มีวิธีการพอสรุปได้ดังนี้
ขั้นตอนแรกทำให้ตัวอย่าง
ระเหยเป็นไอ (volatilisation) หรือใช้เทคนิคการแยกแบบโครมาโตกราฟี่ (chromatography)
ขั้นตอนที่การตรวจวัดความเข็มข้น

วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

เคมี(สาขาวิชาย่อยของวิชาเคมี)

วิชาเคมีมักแบ่งออกเป็นสาขาย่อยหลัก ๆ ได้หลายสาขา นอกจากนี้ยังมีสาขาทางเคมีที่มีลักษณะที่ข้ามขอบเขตการแบ่งสาขา และบางสาขาก็เป็นสาขาที่เฉพาะทางมาก
เคมีวิเคราะห์
เคมีวิเคราะห์ คือการ
วิเคราะห์ตัวอย่างสาร เพื่อศึกษาส่วนประกอบทางเคมีและโครงสร้าง.
ชีวเคมี
ชีวเคมี คือการศึกษา
สารเคมี ปฏิกิริยาเคมี และ ปฏิสัมพันธ์ทางเคมีที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต
เคมีอนินทรีย์
เคมีอนินทรีย์ คือการศึกษาคุณสมบัติและปฏิกิริยาของ
สารประกอบอนินทรีย์ อย่างไรก็ตามการแบ่งแยกระหว่างสาขาทางอินทรีย์และสาขาอนินทรีย์นั้น ไม่ชัดเจน และยังมีการเหลื่อมของขอบเขตการศึกษาอยู่มาก เช่นในสาขา organometallic chemistry
เคมีอินทรีย์
เคมีอินทรีย์ คือการศึกษาโครงสร้าง, สมบัติ, ส่วนประกอบ และปฏิกิริยาเคมี ของ
สารประกอบอินทรีย์
เคมีฟิสิกส์
เคมีเชิงฟิสิกส์ คือการศึกษารากฐานทางฟิสิกส์ของระบบและกระบวนการทางเคมี ตัวอย่างที่เห็นก็เช่น นักเคมีเชิงฟิสิกส์มักสนใจการอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในเชิงของพลังงาน สาขาที่สำคัญในกลุ่มนี้รวมถึง
เคมีอุณหพลศาสตร์ (chemical thermodynamics)
เคมีไคเนติกส์ (chemical kinetics)
เคมีควอนตัม (quantum chemistry)
กลศาสตร์สถิติ (statistical mechanics)
สเปกโตรสโคปี (spectroscopy)
สาขาอื่นๆ
เคมีบรรยากาศ (Atmospheric chemistry)
เคมีดาราศาสตร์ (Astrochemistry)
เคมีการคำนวณ (Computational chemistry)
เคมีไฟฟ้า (Electrochemistry)
เคมีสิ่งแวดล้อม (Environmental chemistry)
ธรณีเคมี (Geochemistry) ,
วัสดุศาสตร์ (Materials Science)
เคมีเวชภัณฑ์ (Medicinal chemistry)
ชีววิทยาโมเลกุล (Molecular Biology)
พันธุศาสตร์โมเลกุล (Molecular genetics)
เคมีนิวเคลียร์ (Nuclear chemistry)
ปิโตรเคมี (Petrochemistry)
เภสัชวิทยา (Pharmacology)
เคมีพอลิเมอร์ (Polymer chemistry)
โลหะอินทรีย์เคมี (Organometallic chemistry)
ซูปราโมเลกุลาร์เคมี (Supramolecular chemistry)
เคมีพื้นผิว (Surface chemistry)
เคมีความร้อน (Thermochemistry)

เคมี(ประวัตืศาสตร์)

วิวัฒนาการของวิชาเคมีแบ่งออกเป็นยุคต่างๆ ดังนี้

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ - ค.ศ. 500
ชาวอียิปต์เป็นชนชาติแรกที่รู้จักใช้วิธีการทางเคมี และคำว่า Chemeia มีปรากฏในภาษาอียิปต์
เดโมคริตัส (นักปราชญ์ชาวกรีก) แสดงความคิดเห็นในเรื่องโครงสร้างของสารโดยคิดหาเหตุผลเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ทำการทดลองประกอบให้เห็นจริง
อริสโตเติล รวบรวมทฤษฎีเกี่ยวกับสสาร โดยสรุปว่า สสารต่างๆ ประกอบขึ้นด้วยธาตุ 4 อย่าง คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ในสัดส่วนที่ต่างกันสำหรับสสารที่ต่างชนิดกัน

ยุคการเล่นแร่แปรธาตุ ค.ศ. 500 - ค.ศ. 1500
นักเคมีสนใจในเรื่องการเล่นแร่แปรธาตุให้เป็นทองคำ แต่ไม่ค่อยพบความสำเร็จเลย ประมาณ ค.ศ. 1100
ความรู้ทางเคมีได้แพร่เข้าสู่ยุโรป ในปลายยุคนี้นักเคมีล้มเลิกความสนใจการเล่นแร่แปรธาตุ
เริ่มสนใจค้นคว้าหายาอายุวัฒนะที่ใช้รักษาโรค

ยุคการเสาะแสวงหายาอายุวัฒนะ (ค.ศ. 1500 - 1600)
เป็นยุค Latrochemistry
นักเคมีพยายามค้นคว้าหายาอายุวัฒนะและบรรดายารักษาโรคต่างๆ

ยุคปัจจุบัน (ค.ศ. 1627 - 1691)
เริ่มต้นจาก
Robert Boyle "ศึกษาเคมีเพื่อเคมี"
Robert Boyle "ศึกษาเคมีเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของเคมีโดยเฉพาะ" และ "ใช้วิธีการทดลองประกอบการศึกษาเพื่อทดสอบความจริงและทฤษฎีต่างๆ"
เลิกล้มทฤษฎีของ
อริสโตเติลที่เกี่ยวกับดิน น้ำ ลม ไฟ
ลาวัวซิเยร์ (ค.ศ. 1743 - 1794) เป็นผู้ริเริ่มเคมียุคปัจจุบัน
สตาฮ์ล (Stahl : ค.ศ. 1660 - 1734) ตั้งทฤษฎีฟลอจิสตัน (Phlogiston Theory)
ลาวัวซิเยร์ ตั้งทฤษฎีแห่งการเผาไหม้ขึ้น ยังผลให้ทฤษฎีฟลอจิสตันต้องเลิกล้มไป
John Dalton (ค.ศ. 1766 - 1844) ตั้งทฤษฎีอะตอม ซึ่งเป็นรากฐานของเคมีสมัยใหม่ แต่ทฤษฎีอะตอมก็ต้องล้มเลิกไป เนื่องจากอะตอมที่แสดงพฤติกรรมได้ทั้งอนุภาคและคลื่

เคมี(นิยามและคำอธิบาย)

เคมีมันจะถูกเรียกว่าเป็นวิทยาศาสตร์ศูนย์กลางเนื่องจากวิชาเคมีนั้นเชื่อมต่อวิทยาศาสตร์อื่นๆเข้าด้วยกันอย่างเช่นฟิสิกส์ ชีววิทยา หรือแม้แต่ธรณีศาสตร์ เคมีนำทางศาสตร์จำเพาะย่อยๆมากมายซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักจะเหลื่อมล้ำกับวิทยาศาสตร์อื่นๆในอัตราที่ถือว่ามากทีเดียว อย่างไรก็ตามศาสตร์จำเพาะย่อยนั้นถือว่ามีความสำคัญทางเคมีอย่างมากเฉกเช่นการผลิตและทดสอบวัตถุที่แข็งแรง การผลิตยาเพื่อรักษาโรคต่างๆ และรวมไปถึงกำหนดขั้นตอนการทำงานของร่างกายในระดับเซลล์
เคมีโดยพื้นฐานแล้วนั้นมักจะเกี่ยวกับสสาร การปฏิสัมพันธ์ของสสารกับสสารด้วยกันเอง หรือการปฏิสัมพันธ์ของสสารกับสิ่งที่ไม่ใช่สสารอย่างเช่นพลังงาน แต่ศูนย์กลางของเคมีโดยทั่วไปคือการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารเคมีด้วยกันในปฏิกิริยาเคมีโดยสารเคมีนั้นแปรรูปเป็นสารเคมีอีกชนิดหนึ่ง นี่อาจจะรวมไปถึงการฉายรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าสู่สารเคมีหรือสารผสม (ใน
photochemistry) ในปฏิกิริยาเคมีที่ต้องการแรงกระตุ้นจากแสง อย่างไรก็ตาม ปฏิกิริยาเคมีนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเคมีซึ่งศึกษาสสารในด้านอื่นๆอีกมากมาย ตัวอย่างเช่น นักสเปกโตรสโคปีนั้นจะศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างแสงกับสสารโดยที่ไม่มีปฏิกิริยาเกิดขึ้น เคมีจะมีธาตุคัญคือ คาร์บอน (c) โดย ด.ช.รัชชานนท์ วิริยกิจโกศล

เคมี

เคมี คือศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับสสาร ความสามารถของสสาร การแปรรูปของสสาร และการปฏิสัมพันธ์กับพลังงานและสสารด้วยกันเอง เนื่องจากความหลากหลายของสสาร ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของอะตอม นักเคมีจึงมักศึกษาโครงสร้าง คุณสมบัติ และการจัดเรียงอะตอมเพื่อรวมตัวกันเป็นโมเลกุล เช่น แก๊ส โลหะ หรือผลึกคริสตัล เคมีปัจจุบันได้ระบุว่าโครงสร้างของสสารในระดับอะตอมนั้นถือเป็นตัวกำหนดธรรมชาติของสสารทุกชนิด