วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2551

ประวัติศาตร์ของตารางธาตุ

เริ่มต้นจาก จอห์น นิวแลนด์ส ได้พยายามเรียงธาตุตามมวลอะตอม แต่เขากลับทำให้ธาตุที่มีสมบัติต่างกันมาอยู่ในหมู่เดียวกัน นักเคมีส่วนมากจึงไม่ยอมรับตารางธาตุของนิวแลนด์ส ต่อมา ดมีตรี เมนเดเลเยฟ จึงได้พัฒนาโดยพยายามเรียงให้ธาตุที่มีสมบัติเหมือนกันอยู่ในหมู่เดียวกัน และเว้นช่องว่างไว้สำหรับธาตุที่ยังไม่ค้นพบ พร้อมกันนั้นเขายังได้ทำนายสมบัติของธาตุใหม่ไว้ด้วย โดยใช้คำว่า เอคา (Eka) นำหน้าชื่อธาตุที่อยู่ด้านบนของธาตุที่ยังว่างอยู่นั้น เช่น เอคา-อะลูมิเนียม (ต่อมาคือธาตุแกลเลียม) เอคา-ซิลิคอน (ต่อมาคือธาตุเจอร์เมเนียม) แต่นักเคมีบางคนในยุคนั้นยังไม่แน่ใจ เนื่องจากว่าเขาได้สลับที่ธาตุบางธาตุโดยเอาธาตุที่มีมวลอะตอมมากกว่ามาไว้หน้าธาตุที่มีมวลอะตอมน้อยกว่า ดมีตรีได้อธิบายว่า เขาต้องการให้ธาตุที่มีสมบัติเดียวกันอยู่ในหมู่เดียวกัน เมื่อดมีตรีสามารถทำนายสมบัติของธาตุได้อย่างแม่นยำ และตารางธาตุของเขาไม่มีข้อน่าสงสัย ตารางธาตุของดมีตรีก็ได้รับความนิยมจากนักเคมีในสมัยนั้นเป็นต้นมา

เคมี(เคมีฟิสิกส์)

การศึกษาทดลองในสาขาวิชานี้จะทำในระดับโมเลกุลแต่การสังเกตและประเมินผลจะปฏิบัติกันในระดับที่สามารถสังเกตได้ในชีวิตประจำวันเช่นการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ความดัน ปริมาตร ความร้อนและงาน ของวัสดุในสภาวะที่เป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ แล้วเอาไปเปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลงระดับโมเลกุลที่เรามองไม่เห็น อาจกล่าวได้ว่าวิชาเคมีฟิสิกส์ก่อกำเนิดขึ้นเมื่อปี 1876 โดยวิลลาร์ด กิบส์(Willard Gibbs) เสนอผลงานการเขียนของเขาชื่อเรื่อง"ดุลยภาพของสสารต่างชนิดกัน"(On the Equilibrium of Heterogeneous Substances) ทำให้เกิดกฎและทฤษฎีดังนี้
พลังงานอิสระหรือ พลังงานเสรี(free energy)
ศักยภาพทางเคมี(chemical potential)
กฎกิบส์เฟส(Gibbs phase rule)
เคมีฟิสิกส์ยุคใหม่นี้คอนข้างจะเอียงมาทางด้านฟิสิกส์มากขึ้นเพราะนี้เนื้อหาดังนี้
เคมีเทอร์โมไดนามิกส์(chemical thermodynamics)
เคมีไคเนติกส์(chemical kinetics)
ควอนตัมเคมี(quantum chemistry)
กลศาสตร์สถิติ(statistical mechanics)
เคมีไฟฟ้า(electrochemistry)
เคมีพื้นผิว (surface chemistry)
เคมีสถานะของแข็ง(solid state chemistry)
สเปกโตรสโคปี(spectroscopy)
วัสดุศาสตร์(materials science)ยุคใหม่จะอาศัยเคมีฟิสิกส์เป็นพื้นฐานอย่างมาก