วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

เคมี(สาขาวิชาย่อยของวิชาเคมี)

วิชาเคมีมักแบ่งออกเป็นสาขาย่อยหลัก ๆ ได้หลายสาขา นอกจากนี้ยังมีสาขาทางเคมีที่มีลักษณะที่ข้ามขอบเขตการแบ่งสาขา และบางสาขาก็เป็นสาขาที่เฉพาะทางมาก
เคมีวิเคราะห์
เคมีวิเคราะห์ คือการ
วิเคราะห์ตัวอย่างสาร เพื่อศึกษาส่วนประกอบทางเคมีและโครงสร้าง.
ชีวเคมี
ชีวเคมี คือการศึกษา
สารเคมี ปฏิกิริยาเคมี และ ปฏิสัมพันธ์ทางเคมีที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต
เคมีอนินทรีย์
เคมีอนินทรีย์ คือการศึกษาคุณสมบัติและปฏิกิริยาของ
สารประกอบอนินทรีย์ อย่างไรก็ตามการแบ่งแยกระหว่างสาขาทางอินทรีย์และสาขาอนินทรีย์นั้น ไม่ชัดเจน และยังมีการเหลื่อมของขอบเขตการศึกษาอยู่มาก เช่นในสาขา organometallic chemistry
เคมีอินทรีย์
เคมีอินทรีย์ คือการศึกษาโครงสร้าง, สมบัติ, ส่วนประกอบ และปฏิกิริยาเคมี ของ
สารประกอบอินทรีย์
เคมีฟิสิกส์
เคมีเชิงฟิสิกส์ คือการศึกษารากฐานทางฟิสิกส์ของระบบและกระบวนการทางเคมี ตัวอย่างที่เห็นก็เช่น นักเคมีเชิงฟิสิกส์มักสนใจการอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในเชิงของพลังงาน สาขาที่สำคัญในกลุ่มนี้รวมถึง
เคมีอุณหพลศาสตร์ (chemical thermodynamics)
เคมีไคเนติกส์ (chemical kinetics)
เคมีควอนตัม (quantum chemistry)
กลศาสตร์สถิติ (statistical mechanics)
สเปกโตรสโคปี (spectroscopy)
สาขาอื่นๆ
เคมีบรรยากาศ (Atmospheric chemistry)
เคมีดาราศาสตร์ (Astrochemistry)
เคมีการคำนวณ (Computational chemistry)
เคมีไฟฟ้า (Electrochemistry)
เคมีสิ่งแวดล้อม (Environmental chemistry)
ธรณีเคมี (Geochemistry) ,
วัสดุศาสตร์ (Materials Science)
เคมีเวชภัณฑ์ (Medicinal chemistry)
ชีววิทยาโมเลกุล (Molecular Biology)
พันธุศาสตร์โมเลกุล (Molecular genetics)
เคมีนิวเคลียร์ (Nuclear chemistry)
ปิโตรเคมี (Petrochemistry)
เภสัชวิทยา (Pharmacology)
เคมีพอลิเมอร์ (Polymer chemistry)
โลหะอินทรีย์เคมี (Organometallic chemistry)
ซูปราโมเลกุลาร์เคมี (Supramolecular chemistry)
เคมีพื้นผิว (Surface chemistry)
เคมีความร้อน (Thermochemistry)

ไม่มีความคิดเห็น: