วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

เคมี(เคมีอนินทรีย์)

เคมีอนินทรีย์ (อังกฤษ: Inorganic chemistry) เป็นสาขาหนึ่งของวิชาเคมีว่าด้วยเรื่องคุญสมบัติและปฏิกิริยาเคมีของสารประกอบอนินทรีย์ หรืออาจจะกล่าวได้ว่าสารประกอบเคมีทุกชนิดยกเว้นสารประกอบเคมีที่มีโซ่และวงแหวนคาร์บอน แต่ก็มีสารบางกลุ่มที่เป็น ได้ทั้งอินทรีย์และอนินทรีย์เช่น ออร์แกนโนเมทัลลิกเคมี (organometallic chemistry)

ชนิดของปฏิกิริยาเคมีในสารอนินทรีย์
ปฏิกิริยาเคมีในสารอนินทรีย์มีด้วยกัน 4 ชนิดคือ:
ปฏิกิริยารวมตัว (combination reaction)
ปฏิกิริยาแตกตัว (decomposition reaction)
ปฏิกิริยาแทนที่ตำแหน่งเดียว (single displacement reaction)
ปฏิกิริยาแทนที่คู่ซึ่งกันและกัน (double displacement reaction)

สาขาของวิชาเคมีอนินทรีย์
เกลือแร่ (Minerals) เช่น เกลือ, แอสเบสโทส (asbestos), ซิลิเกต ฯลฯ
โลหะ (Metals) และโลหะผสม (alloys) เช่นเหล็ก, ทองแดง, อะลูมิเนียม, ทองเหลือง, สัมฤทธิ์ ฯลฯ
อโลหะ เช่น ซิลิกอน, ฟอสฟอรัส, คลอรีน, ออกซิเจน สารประกอบของอโลหะเช่น น้ำ
โลหะเชิงซ้อน (Metal complexes)
สารประกอบเคมีอนินทรีย์ที่มีความสำคัญทางการค้าได้แก่
สารกึ่งตัวนำ เช่นซิลิกอนชิพ (silicon chips)
ทรานซิสเตอร์ (transistors)
จอแอลซีดี (Liquid crystal display screens)
ใยแก้วนำแสง (fiber optical cables)
ตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี (catalysts)
วิชาเคมีอนินทรีย์มีความสัมพันธ์เคมีสาขาอื่นดังนี้
วิชาเคมีอนินทรีย์มีพื้นฐานจาก
เคมีฟิสิกส์ (physical chemistry)
วิชาเคมีอนินทรีย์เป็นพื้นฐานให้
แร่วิทยา (mineralogy)
วิชาเคมีอนินทรีย์เป็นพื้นฐานให้
เคมีวัสดุ (materials chemistry)
วิชาเคมีอนินทรีย์มีความคาบเกี่ยวกับ
ธรณีเคมี (geochemistry)
วิชาเคมีอนินทรีย์มีความคาบเกี่ยวกับ
เคมีวิเคราะห์ (analytical chemistry)
วิชาเคมีอนินทรีย์มีความคาบเกี่ยวกับ
เคมีสิ่งแวดล้อม (environmental chemistry)
วิชาเคมีอนินทรีย์มีความคาบเกี่ยวกับ
โลหะอินทรีย์เคมี (organometallic chemistry)

ไม่มีความคิดเห็น: